ข้อมูลสุขภาพ

ปัจจัยเสี่ยง "มะเร็งเต้านม"

        เต้านม (Breast) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิง อยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง  มีส่วนประกอบหลักๆ ที่ควรทราบดังนี้
        1. ต่อมน้ำนม (Mammary glands): ต่อมน้ำนมเป็นส่วนที่ผลิตน้ำนมในช่วงให้นมบุตร และตรงปลายของต่อมน้ำนมเล็กๆ จะมีถุงกระเปาะขนาดเล็กเป็นแหล่งผลิตน้ำนม
        2. ท่อน้ำนม (Milk ducts) : ท่อน้ำนมเชื่อมต่อต่อมน้ำนมและไปสิ้นสุดที่หัวนม ซึ่งเป็นทางระบายน้ำนมและไปสิ้นสุดที่หัวนม ซึ่งเป็นทางระบายน้ำนมออกทางร่างกายให้ทารกดื่มกิน
        3. เนื้อเยื่อหุ้ม (Connective tissue) : เนื้อเยื่อหุ้มประกอบไปด้วยเส้นใยเส้นใยและไขมัน มีกล้ามเนื้อรองรับเต้านมอยู่เหนือกระดูก ซี่โครงอีกชั้นหนึ่ง
        เต้านมจะขยายขนาดตอบสนองกับฉอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งผลิตจากรังไข่เป็นหลัก


        มะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุดในผู้หญิง มักเกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลท่อน้ำนม หรือต่อมน้ำนม ทำให้เกิดก้อนเนื้องอก โดยหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะโตขึ้นและกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ก่อนที่จะกระจายไปอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป้วยเสียชีวิต


ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม
        1. เพศหญิง (มีโอกาสพบในเพศชายเพียง 1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด) 
        2. ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาตั้งแต่ตอนอายุน้อย ๆ หรือวัยหมดประจำเดือนมาถึงช้า ทำให้ร่างกายผู้หญิงมีโอกาสสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนนานขึ้น จึงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ โดยพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
        3. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ที่กินฮอร์โมนทดแทน
        4. อายุที่มากขึ้น โอกาสเกิดความผิดปกติของยีนในเซลล์ก็จะเพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อการเกิดมะเร็งได้ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
        5. มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง จะมีความเสี่ยงถึง 3 – 4 เท่า ที่จะเกิดมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้างหนึ่ง
        6. มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่ เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม 
        7. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะหากญาติที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือรังไข่เป็นญาติสายตรง จะยิ่งเสี่ยงมากขึ้น 
        8. การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 (BRCA ย่อมาจาก BReast CAncer gene) มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย 
        9. ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับรังสีในปริมาณสูง
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ 

อ่านเพิ่ม
คลิก >> สัญญาณเตือน "มะเร็งเต้านม"
คลิก >> การตรวจคัดกรอง "มะเร็งเต้านม"
คลิก >> การรักษา "มะเร็งเต้านม"

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกบริการสุขภาพ  โทร 045-429100 ต่อ 1426 , 1427