ข้อมูลสุขภาพ

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบของผู้สูงอายุ

            โรคกระดูกพรุนคือโรคที่มวลกระดูกลดลง เนื่องจากเกิดการสลายตัวของกระดูกเร็วกว่าการสร้างกระดูก ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกมีค่าลดลง ส่งผลให้กระดูกเปราะบาง มีความเสี่ยงที่จะแตกหักง่าย หากมีการหกล้ม หรือกระแทกเพียงเลิกน้อย ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคนี้ จะมีส่วนสูงที่ลดลง หรือกระดูกสันหลังผิดรูป เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น มวลกระดูกก็มีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ หากไม่มีการดูแลที่เหมาะสม อาจจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนตามมาได้ ซึ่งจะทำให้กระดูกหักง่าย และส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิต

ปัจจัยเสี่ยง โรคกระดูกพรุน
- อายุ 65 ปีขึ้นไป เมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเสื่อมสภาพลง การทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายจะมีประสิทธิภาพลดลง
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  หรือมีการผ่าตัดรังไข่ออก ทำให้ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงในร่างกายลดลง พบได้หลังหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 15-20 ปี
- น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
- สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง ทำให้ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ 
- ร่างกายได้รับแคลเซียมหรือวิตามินดี ไม่เพียงพอ ปริมาณแคลเซียมในร่างกายเป็นปัจจัยที่มีส่วนช่วยให้มวลกระดูกมีความแข็งแรง หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในช่วงเด็กและวัยรุ่น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
- พันธุกรรม ครอครัวที่มีญาติใกล้ชิด หรือพ่อแม่ เป็นโรคกระดูกพรุนมีความเสี่ยงสูง
- ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคข้อ โรครูมาตอยด์ โรคไตวายเรื้อนัง

อาการแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน
- โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต
- หลังโก่ง หลังค่อม
- ติดเชื้อในกระแสเลือด
- ช่วยเหลือตัวเองลำบาก
- เคลื่อนไหวช้าลง
- แผลกดทับ (ในกรณีผู้ป่วยติดเตียง)
            ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักไม่รู้ว่าตัวเองเป็น เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน และมักทราบเมื่อเกิดอุบัติเหตุนำไปสู่กระดูกหัก ดังนั้นหากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์ สำหรับการตรวจวินิจฉัยนั้น ปัจจุบันใช้วิธีวัดมวลกระดูกด้วยเครื่อง DXA หรือเครื่องตรวจวิเคราะห์ความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density, BMD) 
คลิก>> โปรแกรมตรวจโรคกระดูกพรุน <<

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกกระดูกและข้อ ชั้น 2 โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
โทร. 045 429100 แผนกผู้ป่วยนอก 2 ต่อ 2241, 2242